admin

ขับดีมีวินัย ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย
บนท้องถนนเวลารถติด

คงไม่ใครปฎิเสธได้ว่า ในปัจจุบันนั้นปัญหาการจราจรในกรุงเทพกำลังเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า “หยุดตาย” เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนก็เจอแต่ปัญหารถติด แม้ว่าจะพอเห็นถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลาในการแก้ไขที่ยาวนานมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีตัวเลือกอื่นในการเดินทางเสมอไป โดยเราอาจจะหันมาใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะแทน เช่น บริการจักรยานยนต์รับจ้าง บริการแมสเซ็นเจอร์ส่งเอกสาร ส่งพัสดุด่วน ส่งสินค้าต่างๆ แทนเราหรือเลือกใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทางแทนรถยนต์แต่สะดวกสบายอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องมีวินัยในการขับขี่กันด้วยนะครับวันนี้พี่ยูจึงมีเคล็ดลับดีๆในการขับขี่จักรยานยนต์เวลารถติดมาฝากกัน

1. เว้นระยะห่าง

ควรเว้นระยะห่างทั้งด้านหน้าและด้านข้างให้เหมาะสม เพื่อให้มีพื้นที่ และระยะในการเบรคให้เพียงพอ จะได้ไม่ต้องกำเบรคกันจนหัวทิ่มหัวตำ และที่สำคัญถ้าหากพื้นผิวถนนลื่น
พี่ยูว่าอาจจะได้ลงไปวัดกับพื้นกันได้ง่ายๆ ทั้งเจ็บทั้งอายกันเลยทีเดียว แถมเสียเวลาอีกด้วยนะครับ

2. มองให้ไกลเข้าไว้

ในสภาพที่มีการจราจรหนาแน่นบนท้องถนน ควรสังเกตุให้ดี เพราะมักจะมีรถจักรยานยนต์คันอื่นขับขนาดกับเราอยู่ ซึ่งอาจจะแทรกเลนออกมาได้ทุกเมื่อ พี่ยูแนะนำให้มองไปไกลๆ มองรอบข้างไว้เสมอเพื่อช่วยให้เราเตรียมพร้อมและหลบหลีกก่อนเกิดอุบัติเหตุครับ

3. มองรอบตัวก่อนเปลี่ยนเลนเสมอ

ก่อนเปลี่ยนช่องทางหรือแทรกช่องว่างระหว่างรถ ควรดูรอบตัวเสียก่อนนะครับว่าปลอดภัยหรือไม่ และควรให้สัญญาณเตือนล่วงก่อนเสมอ เช่น หากต้องการเข้าซอย ก็ควรอยู่ช่องทางด้านซ้ายก่อนอย่างน้อย 30 เมตรโดยประมาณนั่นเองครับ

4. อย่าขี่ระหว่างเลนรถสวนทางกัน

ข้อนี้สำคัญมาก เพราะนอกจากจะอันตรายแล้วยังเป็นมารยาทในการขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย จำไว้ว่าไม่ควรแซงในลักษณะสวนเลนเด็ดขาด!! เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา นอกจากตัวเราที่เดือดร้อนแล้ว  อาจจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอีกด้วยครับ

ขับขี่อย่างไรให้ประหยัด ???

สวัสดีครับ วันนี้พี่ยูจะพาไปพบกับวิธีที่จะช่วยคุณประหยัดน้ำมันรถจักรยานยนต์อย่างง่ายๆที่ทำได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน ยิ่งทำงานในสายงานแมสเซ็นเจอร์แล้ว เรื่องของความประหยัดน้ำมันนั้นสำคัญอย่างมาก เพราะต้องออกไปวิ่งรับส่งเอกสาร พัสดุ ในทุกๆวัน โดยมี 7 วิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นแค่เพียงทริคเล็กๆน้อยๆ ที่ใครก็สามารถปฎิบัติได้ในชีวิตประจำวันครับ แค่นี้ก็สามารถช่วยประหยัดนำมันได้แล้ว ซึ่งไม่มากก็น้อยครับ ขับขี่อย่างไรให้ประหยัด ด้วย 7 วิธีง่ายๆ

ข้อที่ 1 ควรทำการดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ยกของขึ้นลงหรือคอยคน เพราะการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้วยังทำให้เกิดไอเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วยครับ

ข้อที่ 2 พี่ยูแนะนำให้ขับขี่ด้วยความเร็วมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอครับ โดยอัตราความเร็วคงที่อาจจะอยู่ที่ 40-60 กม/ชม และไม่ควรเบรคโดยไม่จำเป็น เพราะจะมีผลต่อการกินน้ำมันเชื้อเพลิงครับ

ข้อที่ 3 ควรเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทน (Octan) มาตรฐานและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แค่นี้ก็สามารถช่วยประหยัดน้ำมันได้แล้วครับ

ข้อที่ 4 ก่อนออกเดินทางควรวางแผนเลือกเส้นทางที่ใกล้ที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุด เพราะในปัจจุบันนั้น การจราจรในกรุงเทพค่อนข้างติดขัด จากประสบการณ์จริงที่พี่ยูต้องพบเจอในทุกๆวันในการไปส่งเอกสารด่วนให้ลูกค้านั่นเองครับ

ข้อที่ 5 การเบิ้ลเครื่องนอกจากเป็นการรบกวนผู้อื่นแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุอีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ควรทำอย่างยิ่งเลยครับ ยิ่งในเขตชุมชนแล้วด้วย นอกจากจะเปลืองน้ำมันแล้วอาจจะได้เลือดด้วยนะครับ พี่ยูขอเตือน

ข้อที่ 6 เพราะถ้าหากโซ่หย่อนจนเกินไป จะใช้แรงในการขับเคลื่อนที่มากขึ้นทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเองครับ

ข้อที่ 7 ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คโดยผู้ชำนาญการอย่างสม่ำเสมอ  และเลือกใช้อะไหล่แท้เพื่อให้เครื่องยนต์มีสภาพการทำงานที่ดี ช่วยประหยัดน้ำมันและยังขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจด้วยครับ

สัญญาณมือในการขับขี่รถ
"จักรยานยนต์" เพื่อความปลอดภัย

 

หนึ่งในกฏจราจรสำคัญที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างเราๆต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะในสายงานแมสเซ็นเจอร์ส่งเอกสาร ที่ต้องใช้งานถนนเป็นประจำอยู่ทุกวัน การขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนนั้น ค่อนข้างอันตรายเมื่อเทียบกับยานพาหนะชนิดอื่น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลง วันนี้พี่ยูจึงขอนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ
ในการใช้สัญญาณมือมาฝากกัน เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการขับขี่กันต่อไปครับ   

 1.เชิญไปก่อนเลย เหวี่ยงมือซ้ายจากด้านหลังไปด้านหน้า

2.พัก (ระหว่างทาง) ใช้หัวแม่มือชี้ไปที่ปาก

3.ชะลอความเร็ว ยกมือขวาขึ้นขนานกับลำตัว เหวี่ยงลง

4.เลี้ยวซ้าย – เลี้ยวขวา

เลี้ยวซ้าย – ยกมือขวาขึ้น ชี้นิ้วไปทางซ้าย

เลี้ยวขวา – ยกมือขวาขึ้น ชี้นิ้วไปทางขวา

5.พบอุปสรรคด้านหน้า

อุปสรรคทางซ้าย – ยกมือซ้าย ชี้นิ้วลงด้านล่าง

อุปสรรคทางขวา – ยกมือขวา เหยียดตรง

6.ระวังถนนลื่น

ยกมือชี้ลงด้านล่าง ทำมือหมุนๆไปมา

7.ขับแบบสลับฟันปลา

ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นด้านบน

8.หยุด (แบบปรกติ)

ยกมือขวาขึ้นแบบมือ

9.หยุด (แบบฉุกเฉิน)

ยกมือขวาขึ้นกำมือ

10.น้ำมันหมดแล้ว

เอานิ้วชี้ไปที่ถังน้ำมัน

11.เพิ่มความเร็ว

มืออยู่ข้างลำตัว ยกขึ้นแนวเดียวกับลำตัว

12.ขับขี่แบบแถวตอนเรียงหนึ่ง

ชูนิ้วชี้ขึ้นด้านบน

13.พบสาวสวย น่ารัก

ยกมือซ้ายขึ้น ทำท่าบอกรัก

14.กรุณาอย่าขับจี้ตูด

ยกมือซ้ายลง ชูนิ้วกลาง (ข้อนี้แนะนำไม่ควรทำนะครับ หากไม่จำเป็นจริงๆเพราะอาจจะทำให้เกิดเหตุการ์ณที่ไม่คาดฝันขึ้นได้ 555+)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับสัญญาณมือที่พี่ยูนำมาฝาก หวังว่าจะช่วยทุกท่านให้ระมัดระวังในการขับขี่ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ วันนี้พี่ยูไปก่อนไว้พบกันใหม่บทความหน้าครับผม

อุ่นใจ...ง่ายเรื่องงานแมสเซ็นเจอร์ด้วย
UappsS-UappsM

 

รู้กันหรือเปล่า รู้กันหรือเปล่า?!….. ว่าพนักงานแมสเซ็นเจอร์ของ ยู อินโฟ มี Application ติดตัวไว้ใช้งานกันทุกคน มานานแล้วนะ ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งของพนักงานแมสเซ็นเจอร์ ที่มาพร้อมกับตัว UappsM(ยูแอพเอ็ม) หรือในฝั่งของระดับหัวหน้างานแมสเซ็นเจอร์ที่มาพร้อมกับตัว UappsS(ยูแอพเอส) แต่เดี๋ยวก่อนหลายคนคงสงสัยว่าแล้วแอพ 2 ตัวนี้มันดียังไงแล้วทำอะไรได้บ้างกันนะ? เดี๋ยวพี่ยูจะอธิบายให้ฟัง รอช้าอยู่ทำไมว่าแล้วตามพี่ยูไปอ่านดูกันเลยดีกว่า!!

UappsM(สำหรับพนักงานแมสเซ็นเจอร์)

• น่าเชื่อถือกว่าด้วยระบบเข้างานผ่าน “ยูแอพเอ็ม” ของพนักงานแมสเซ็นเจอร์ที่จะต้องเข้าใช้ระบบ เพื่อระบุเวลา เข้า-ออก งานในทุกเช้า

ซึ่งจะมีหัวหน้าทีมแมสเซ็นเจอร์คอยดูแลผ่าน UappsS แบบเรียลไทม์ เพื่อรายงานผลให้กับลูกค้าทราบได้อย่างทันทีว่าพนักงานแมสเซ็นเจอร์ ขาด ลา มาสาย หรือไม่

• มีกำหนดส่งงานอย่างชัดเจน และทุกครั้งที่พนักงานแมสเซ็นเจอร์วิ่งงานสำเร็จ จะต้องมีลายเซ็นของลูกค้าภายในระบบทุกครั้งและจะถูกตรวจสอบ

ความถูกต้องด้วยหัวหน้าทีมผ่าน UappsSอีกครั้ง จึงทำให้ท่านสามารถมั่นใจได้ว่าเอกสาร พัสดุ สำคัญของท่านจะถึงจุดหมายแน่นอน

• มีระบบ Gps คอยติดตามพนักงานแมสเซ็นเจอร์ ซึ่งจะมีหัวหน้าทีมคอยดูแลผ่าน UappsS จึงทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าพนักงานของเรา

จะไม่วิ่งงานออกนอกเส้นทางอย่างแน่นอน และทุกครั้งเมื่อส่งงานสำเร็จแล้ว พนักงานแมสเซ็นเจอร์จะต้องบันทึกจุดส่งงานล่าสุดภายในระบบ

• มีระบบทดแทนงานให้กับพนักงานแมสเซ็นเจอร์ ในกรณีที่พนักงาน ขาดงาน ลางาน ซึ่งจะต้องแจ้งให้หัวหน้าทีมทราบทุกครั้งผ่าน UappsM แบบเรียลไทม์

เพื่อที่หัวหน้าทีมจะทำการแก้ปัญหาโดยส่งพนักงานแมสเซ็นเจอร์ ทดแทนให้กับลูกค้าภายในทันที

UappsS(สำหรับหัวหน้างานแมสเซ็นเจอร์)

• หัวหน้าทีมแมสเซ็นเจอร์สามารถตรวจเช็คเวลา เข้า – ออก งานของพนักงานแมสเซ็นเจอร์ได้แบบเรียลไทม์ผ่าน UappsS

จึงสามารถทราบได้ว่าวันไหนพนักงานมีการ ขาด ลา มาสาย ซึ่งถ้าหากเกิดปัญหาต่างๆ หัวหน้าทีมแมสเซ็นเจอร์จะหาวิธีแก้ปัญหาให้กับลูกค้าทันที

• สามารถตรวจเช็คตำแหน่งที่อยู่ของพนักงานแมสเซ็นเจอร์ได้โดยผ่าน UappsS เมื่อพบว่าพนักงานแมสเซ็นเจอร์มีการวิ่งงานออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้

หรือไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาส่งงาน หัวหน้าทีมจะทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและรายงานให้ลูกค้ารับทราบทันที

• หัวหน้าทีมสามารถตรวจสอบเช็คผลสำเร็จของงาน ที่พนักงานแมสเซ็นเจอร์วิ่งในแต่ละครั้ง เพื่อรายงานผลให้แก่ลูกค้าทราบว่าสำเร็จหรือไม่

หรือไม่สำเร็จเพราะเหตุใด เพื่อที่จะหาวิธีแก้ปัญหาในขั้นตอนต่อไป ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้เลยว่าเอกสารจะถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน

เป็นยังไงกันบ้างครับกับ Application UappsM และ UappsS ที่จะเข้ามาช่วยให้งานวิ่งเอกสารที่วุ่นวายของคุณ ให้กลายเป็นเรื่องกล้วยๆ

นอกจากนี้ยังมี Application ของเราอีกตัวนะที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจของคุณ แต่ตอนนี้พี่ยูขออุ๊บไว้ก่อนว่าจะเป็น App อะไรกันนะ….?

ไว้ติดตามกันต่อในบทความหน้านะครับผมมม

นโยบายมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
และการปฏิบัติงานภายใต้ภาวะวิกฤต ปี 2559


บริษัท ยู อินโฟ จำกัด และบริษัทในเครือ ในหัวข้อการฝึกซ้อมดับเพลิงและซ้อมหนีไฟ 

การเกิดเพลิงไหม้ในสถานประกอบการ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมากเป็นวงกว้างและมีผลกระทบในหลายๆด้าน อาทิ เช่น อาคารสถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพพจน์ขององค์กร อาจจะถึงขั้นส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักได้ ดังนั้นเรื่องการฝึกอบรมระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเนื่องจากนายจ้างและลูกจ้างบางส่วน ยังขาด ทักษะ ความรู้ ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ในส่วนของการรับผิดชอบในด้านการป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในภาวะปกติเบื้องต้น ทางบริษัท ยู อินโฟ จำกัด จึงจัดการฝึกอบรมขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา ในหัวข้อการฝึกซ้อมดับเพลิงและซ้อมหนีไฟประจำปี โดยมีการจัดทำแผนป้องกันระงับอัคคีภัยการรณรงค์และการฝึกอบรมหัวข้อการฝึกซ้อมดับเพลิง ตามกฎกระทรวงฯ การป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 27 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ เข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม

โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

1.ภาคทฤษฎี การอบรมภาคทฤษฎีภายในห้องเรียนใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ด้วยอุปกรณ์จำลองและสาธิตต่าง ๆเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยเทคนิคการฝึกอบรมที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้อุปกรณ์จำลองและการสาธิต เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงานเพื่อที่จะสามารถ นำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้ โดยมีหัวข้อย่อยดังนี

-แผนการดับเพลิงและวิธีดับเพลิง

-แผนการอพยพหนีไฟและวิธีอพยพหนีไฟ

-การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย

2.ภาคปฏิบัติ

การอบรมภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนจะได้ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง และฝึกปฏิบัติการดับไฟ ด้วยถังดับเพลิงประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสม กับ สถานการณ์ ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมครูฝึกเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด โดยมีหัวข้อย่อยในการฝึกดังนี

– การฝึกซ้อมดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือและสายดับเพลิง

– การฝึกซ้อมหนีไฟตามแผนของสถานประกอบการ

– การฝึกการค้นหาและช่วยเหลือเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

Title/Headline Box

This box should contain the title of your post. You can use any phrase, words, or characters. (Avoid using the same title on more than one page.) You can use commas, apostrophes, quotes, hyphens/dashes, and other typical symbols in the post like “My Site – Here’s Lookin’ at You, Kid.” WordPress will then clean it up to generate a user-friendly and URL-valid name of the post (also called the “post slug”) to create the permalink for the post.

Permalink

Permalink stands for “permanent link.” That means a post URL that does not expose the post ID which could be subject to a change (e.g. when moving to different blogging system), but it rather contains a user-friendly post name derived from the post title which could also change, although not recommended, but in a more controllable way. This post name (also referred to as “post slug” or just “slug”) can be edited, depending on your Permalinks settings, using the “Edit” button. (To change your settings, go to Administration Panels > Settings > Permalinks). The permalink is automatically generated based on the title you set to the post and is shown below the title field. Punctuation such as commas, quotes, apostrophes, and invalid URL characters are removed and spaces are substituted with dashes to separate each word. If your title is “My Site – Here’s Lookin’ at You, Kid”, it will be cleaned up to create the slug “my-site-heres-lookin-at-you-kid”. You can manually change this, maybe shortening it to “my-site-lookin-at-you-kid”.

Body Copy Box

The blank box where you enter your writing, links, images, links to images, and any information you want to display on your site. You can use either the visual (WYSIWYG) editor or the text view to compose your posts. For more on the text view, see the section below, Visual Versus Text Editor.